มาทำความรู้จักกับประเภทของค้อนว่ามีกี่ชนิด
บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับการใช้งาน และ การบำรุงรักษาเครื่องมือประเภทต่าง ๆ แบบคร่าว ๆ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่างมืออาชีพและช่างมือใหม่ต้องศึกษาไว้ เพราะการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องมือช่างที่ถูกวิธีนั้น ส่งผลกับตัวผู้ใช้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่เรื่องความปลอดภัยในเวลาปฎิบัติงาน รวมไปถึง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานนั้น ๆ อีกด้วย
เครื่องมือชนิดแรกที่แนะนำคือ “ค้อน” ซึ่งค้อนก็แบ่งได้อีกหลายประเภท ดังนี้
1. ค้อนหัวกลม

– ลักษณะ : หัวกลมมน หน้าค้อนแบนเรียบ
– การใช้งาน : ใช้้งานกลทั่วไป เช่น ตอกตะปู ย้ำหมุด เป็นต้น
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่ง หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
2. ค้อนยาง

– ลักษณะ : หัวกลมมนผลิตจากยางเป็นหลัก
– การใช้งาน : ใช้งานเฉพาะที่ต้องการไม่ให้งานแตกร้าว ยุบ บุบ ต้องการความปราณีตของงาน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
3. ค้อนหงอนช่างไม้

– ลักษณะ : หน้าเรียบใช้ตีตะปู อีกด้านจะมีหงอนไว้ถอนตะปูหรืองัด
– การใช้งาน : ใช้งานเฉพาะที่ต้องการไม่ให้งานแตกร้าว ยุบ บุบ ต้องการความปราณีตของงาน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
4. ค้อนช่างไฟฟ้า

– ลักษณะ : หน้าค้อนเป็นสี่เหลี่ยมอีกด้านแบนเรียบ
– การใช้งาน : ใช้สำหรับงานตอกเข็มขัดเดินสายไฟภายในอาคาร
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
5.ค้อนปอนด์

– ลักษณะ : เป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาด 1.5 – 3 ปอนด์ ยาวประมาณ 60 ซม.- 1 ม.
– การใช้งาน : ต้องใช้แรงเหวี่ยงมาก ๆ เช่น ตีเหล็ก ตอกหมุด สกัดหิน
– การบำรุงรักษา : ไม่ใช้ขณะมือเปื้อนน้ำมัน ไม่ใช้ด้ามกระแทกชิ้นงาน อย่าให้ตกจากโต๊ะปฏิบัติงาน อย่าใช้หัวค้อนแทนทั่งหลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด
ที่มา : ความรู้คู่ช่าง